Pages

Thursday, June 13, 2013

เต้าตีเส้น

เต้า   ใช้ในการตีเส้นตรงในแนวนอนหรือแนวดิ่งใช้ในการเดินสายไฟฟ้า
 


 1.
รูปเต้า

 2.
รูปการใช้งานเต้า

เชือกตีแนว


ภาพประกอบบทควาเชือกตีแนว, ปักเต๊า (Chalk Reel)

เชือกตีแนว

เชือกตีแนว หรือ ปักเต๊า ใช้ตีแนวเส้นตรง รวมไปถึงแนวระดับได้ด้วย ใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องการแนวก่อนที่จะก่อกำแพงให้เป็นเส้นตรง แล้วจึงตีเส้นระดับเพื่อการวางท่อ ผนัง ประตู หน้าต่าง มุงกระเบื้อง การทำเคาน์เตอร์ ทำราง หรือการโรยกรวด เป็นต้น หรือจะใช้ตีเส้นบนทางเดินริมถนน ถ้าต้องการบันทึกความยาว ก็ให้ผูกปมไว้บนเส้นเชือก แต่ถ้าต้องการสร้างมุมฉาก ให้ใช้ทฤษฎีบทของพิทากอรัส และสร้างสามเหลี่ยมที่มีความยาวด้านเป็น 3-4-5 โดยใช้ปมที่ผูกบนเส้นเชือกร่วมกับท่อนไม้ เครื่องมือช่างชนิด นี้ มีลักษณะเป็นกล่องรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยอลูมิเนียมกลวงคล้ายกระป๋อง มีขนาดเทียบเท่าฝ่ามือ มีด้ามเล็กๆ สำหรับหมุนที่ปลายด้านหนึ่งซึ่งเป็นโลหะคล้ายตะขอ ปลายอีกด้านหนึ่งมีเชือกร้อยอยู่ โดยขดของเชือกจะซ่อนอยู่ในตัวกล่อง หลักการใช้งานของเครื่องมือช่างดัง กล่าว คือการหาตำแหน่งของปลายเส้นที่ต้องการตี แล้วเกี่ยวตะขอตรงตำแหน่งนั้น หรือใช้เหล็กตอกลงไป จึงเกี่ยวตะขอ ดึงเชือกที่ปลายของเส้นที่จะตีและคลายขดเชือกออก ดึงเชือกให้ตึงอีกครั้งด้วยมืออีกข้างหนึ่ง แล้วใช้นิ้วสองนิ้วเกี่ยวเส้นเชือกให้ลอยเหนือพื้น แล้วปล่อยให้เชือกดีดตัวลงไป จากนั้นปลดตะขอ แล้วจึงม้วนเชือกกลับ

เต้าตีเส้น สมัยก่อน
http://www.m-culture.in.th/media/big/144521

เต้าตีเส้น - การตีเส้นบนไม้ก่อนที่ช่างไม้จะทำการเลื่อยไม้เป็นส่งที่สำคัญ การตีเส้นบนไม้แผ่นยาว ๆ การใช้ไม้บรรทัดทำไม่ได้ช่างไม้ตีเส้นโดยนำเชือกมาชุบสีขึงเชือกให้ตึงจับ เส้นเชือกดีดลงไปบนพื้นไม้สีจะปรากฏอยู่บนไม้ที่จะเลื่อย - อุปกรณ์ที่ช่วยในการเก็บเชือก ย้อมสีเชือกคือ เต้าตีเส้นทำด้วยไม้ยาวประมาณ 7 นิ้ว กว้างประมาณ 3 นิ้ว สูงประมาณ 3 นิ้ว แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ช่องสำหรับม้วนเก็บเชือกและช่องบรรจุถ่านดำ มีรูสำหรับให้เชือกรอดจากด้านหน้าผ่านช่องถ่านและทะลุเข้าไปในช่องเก็บเชือก ช่องเก็บเชือกมีล้อกลม ๆ ติดอยู่สำหรับม้วนเชือกเข้าเก็บ - ก่อนใช้งานช่างไม้นำถ่านไม้สีดำตำจนละเอียดผสมน้ำเล็กน้อยอัดบรรจุลงในช่อง บรรจุถ่านดึงเชือกออกจากช่องเก็บเชือก เชือกผ่านช่องถ่านออกไปทางด้านหน้า ขึงเชือกให้ตึงในตำแหน่งที่ต้องการแล้วดีดเส้นเชือกสัมผัสกับแผ่นไม้ที่จะ เลื่อยสีดำของถ่านไม้ถูกดีดไปติดอยู่บนแผ่นกระดาน แหล่งอ้างอิงข้อมูล พิพิธภัณฑ์มีชีวิต ค่ายวิทยาศาสตร์พื้นบ้าน - จัดทำขึ้นเพื่องานด้านอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย โดย... พ.ต.อ.ไพฑูรย์ เพิ่มศิริวิศาล… หมู่ที่ 6 ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ. สมุทรสาคร

0 comments:

Post a Comment