โอห์มมิเตอร์ เป็นเครื่องมือในการตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าว่ายังใช้งานได้ดีหรือไม่
1. รูปโอห์มมิเตอร์ |
2. การต่อขั้วที่มิเตอร์ สีแดงต่อขั้วบวก สีดำต่อขั้วลบ |
3. การปรับมิเตอร์ นำขั้วบวกและขั้วลบ มาแตะกัน และปรับปุ่มสีขาวให้เข็มชี้ที่เลขศูนย์ |
โอห์มมิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดที่สร้างขึ้นมาเพื่อวัดอุปกรณ์ เฉพาะความต้านทาน และมีประโยชน์ ต่อเนื่อง ไปถึงการวัดอุปกรณ์อื่นๆ ได้ด้วยเช่น วัดการตัดต่อของสวิตซ์ หน้าสัมผัสต่าง ๆ ตลอดจนวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ว่า ดี , เสียได้ด้วย
โครงสร้างของโอห์มมิเตอร์ประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 อย่างคือ ดาร์สันวาล์มิเตอร์ แบตเตอรี ( ถ่านไฟฉาย ) และตัวต้านทานปรับค่าได้ โดยนำอุปกรณ์ 3 ส่วนดังกล่าวมาต่อวงจรจะได้โอห์มมิเตอร์ขึ้นมา และปรับแต่งสเกลหน้าปัดให้บอกค่า โอห์ม โอห์มมิเตอร์แบ่งลักษณะการต่อวงจรออกเป็น 3 แบบ ด้วยกันคือ
1.โอห์มมิเตอร์ แบบอันดับ
2. โอห์มมิเตอร์แบบอนุกรม
3. โอห์มมิเตอร์แบบปรับแบ่งแรงดัน
โอห์มมิเตอร์แบบอันดับ คือ โอห์มมิเตอร์ที่มีตัวต้านทานไม่ทราบค่าที่ต้องการวัดต่อเป็นอันดับกับ
ขด ลวดเคลื่อนที่ของมิเตอร์ สภาวะ การ บ่ายเบน ของเข็มมิเตอร์จะขึ้นอยู่กับขนาดของความต้านทานที่ไม่ทราบค่า ถ้า ขนาดความต้านทานไม่ทราบค่าสูง จะจำกัดกระแสให้ผ่านขดลวดเคลื่อนที่น้อย ถ้าขนาดความต้านทานไม่ทรายค่าต่ำ จะจำกัดกระแสให้ผ่านขดลวดเคลื่อนที่มาก ผลดังกล่าวเข็มมิเตอร์จะชี้ค่าความต้านทานออกมา การเปลี่ยนสเกลหน้า ปัดของมิเตอร์ให้เป็นหน้าปัดของมิเตอร์ให้เป็นสเกลของโอห์มมิเตอร์ทำได้โดย ใช้ตัวต้านทานมีค่าความต้านทานต่างๆ แทนค่าลงในสมการ คำนวณค่าออกมาเป็นกระแสในค่าต่างๆ กำหนดค่าความต้านทานลง ตาม กระแสที่คำนวณได้ ก็จะได้สเกลของโอห์มมิเตอร์แบบอันดับตามที่ต้องการ
โอห์มมิเตอร์แบบขนาน เป็นโอห์มมิเตอร์ที่วัดค่าความต้านทานค่าต่ำ ๆ ได้ดี จากผลของการต่อ ความ ต้านทานไม่ทราบ ค่าขนานกับมิเตอร์นั่นเอง ในทำนองเดียวกันการต่อตัวต้านทานทราบค่าต่ำๆ ขนานกับมิเตอร์ ก็สามารถนำ โอห์มมิเตอร์ไป วัดความต้านทานต่ำได้เช่นกัน และสามารถเปลี่ยนค่าความต้านทาน ของ มิเตอร์ ได้ ทำให้สามารถวัดค่าความต้านทานได้กว้าง เรียกโอห์มมิเตอร์แบบนี้ว่าโอห์มมิเตอร์แบบปรับแรงดัน โดยอาศัย ตัวต้านทานขนานค่าต่ำ ที่ต่อร่วมกับตัวต้านทานที่ต้องการวัดค่า ต่อร่วมเป็นวงจรแบ่งแรงดัน ผลการแบ่งแรงดัน จะทำให้มีแรงดันไฟตรงตกคร่อมขดลวดเคลื่อนที่ของมิเตอร์เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้มีกระแสไหลผ่าน ขดลวด เคลื่อนที่ เปลี่ยนไป เกิดการบ่ายเบนที่เปลี่ยนแปลง เมื่อทำการเปลี่ยนแปลงสเกลหน้าปัดให้เป็นสเกลโอห์มมิเตอร์ ก็สามารถอ่านค่าความต้านทานที่ทำการวัดได้
สเกลของโอห์มมิเตอร์แบบขนานจะตรงข้ามกับสเกลของโอห์มมิเตอร์แบบอันดับคือมี 0 โอห์ม อยู่ทางซ้ายมือ และมีอินฟีนิตี้โอห์มอยู่ทางขวามือ
โอห์มมิเตอร์แบบปรับแบ่งแรงดัน ความจริงมีโครงสร้างมาจากโอห์มมิเตอร์แบบอันดับโดยทำการดัดแปลงสง่นประกอบ วงจรคือเพิ่มตัวต้านทานค่าต่ำขนานกับมิเตอร์ ดังนั้นสเกลของโอห์มมิเตอร์แบบนี้ จะมีสเกลเหมือนกับโอห์มมิเตอร์แบบอันดับ คือ 0 โอห์ม จะอยู่ทางขวามือ และ อินฟีนิตี้ จะอยู่ทางซ้ายมือ
โอห์มมิเตอร์แบบหลายย่านวัด คือโอห์มมิเตอร์ที่วัดค่าความต้านทานได้กว้าง ตั้งแต่ค่าต่ำไปหาค่าสูง โดยอาศัยหลักการ ของโอห์มมิเตอรแบบปรับแรงดันย่านวัดถูกสร้างให้เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ 1 เท่า, 10 เท่า , 100 เท่า, 1,000 เท่า ฯลฯ ส่วน สำคัญของโอห์มมิเตอร์หลายย่านวัดคือ จะต้องใช้สเกลการวัดค่าเพียงสเกลเดียว การกำหนดค่าสเกลจะต้องมองที่ย่านกลางสเกลของโอห์มมิเตอร์ย่านต่ำสุด
0 comments:
Post a Comment