Pages

Thursday, June 13, 2013

มีดคัตเตอร์

มีดคัตเตอร์

    ใช้ในการปอกฉนวนสายไฟฟ้าชนิดต่างๆ  เพื่อจะใช้ต่อกับอุปกรณ์ไฟฟ้า
 


 1.
รูปมีด

 2.
รูปการใช้มีด


รูปสินค้า มีดคัตเตอร์ OFM A196 ทำมุม 45องศา OFFICEMATE A196
มีดคัตเตอร์ OFM A196 ทำมุม 45องศา OFFICEMATE A196
  • ใบมีดผลิตจากสแตนเลสผสม มีความบาง และคม
  • ด้ามผลิตจากเหล็กเนื้อแข็ง ขนาดเหมาะมือ
  • ใช้งานง่ายด้วยตัวเลื่อนเข้าออก แบบสไลด์ล็อค
  • รองรับใบมีดขนาดมาตรฐาน : 9 มม.
  • หักใบมีดได้ทั้งหมดจำนวน : 12 ครั้ง
  • ใบมีดทำมุมเฉียง : 45 องศา




รูปสินค้า มีดคัตเตอร์ OFM L300 Large ทำมุม 45 องศา OFFICEMATE L300 LARGE
มีดคัตเตอร์ OFM L300 Large ทำมุม 45 องศา OFFICEMATE L300 LARGE
  • ใบมีดผลิตจากสแตนเลสผสม คุณภาพดี
  • ด้ามผลิตจากพลาสติกเนื้อแข็ง จับถนัดมือ
  • ใช้งานง่ายด้วยตัวเลื่อนเข้าออก แบบสไลด์ล็อค
  • รองรับใบมีดขนาดมาตรฐาน : 18 มม.
  • หักใบมีดได้ทั้งหมดจำนวน : 7 ครั้ง
  • ใบมีดทำมุมเฉียง : 45 องศา



รูปสินค้า มีดคัตเตอร์ OFM A396 ทำมุม 30องศา OFFICEMATE A396
มีดคัตเตอร์ OFM A396 ทำมุม 30องศา OFFICEMATE A396
  • ใบมีดผลิตจากสแตนเลสคุณภาพดี
  • ตัวด้ามทำจากสเตนเลสเนื้อดี ปลอดสนิม
  • ใช้งานง่ายด้วยตัวเลื่อนเข้าออก แบบสไลด์ล็อค
  • ใบมีดทำมุมเฉียง : 30 องศา


โอห์มมิเตอร์

โอห์มมิเตอร์  เป็นเครื่องมือในการตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าว่ายังใช้งานได้ดีหรือไม่
 


 
1.
รูปโอห์มมิเตอร์
 

   
 2.
การต่อขั้วที่มิเตอร์
 สีแดงต่อขั้วบวก  สีดำต่อขั้วลบ
 
   

 
3.
การปรับมิเตอร์ นำขั้วบวกและขั้วลบ มาแตะกัน
และปรับปุ่มสีขาวให้เข็มชี้ที่เลขศูนย์
สรุป

โอห์มมิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดที่สร้างขึ้นมาเพื่อวัดอุปกรณ์ เฉพาะความต้านทาน และมีประโยชน์ ต่อเนื่อง ไปถึงการวัดอุปกรณ์อื่นๆ ได้ด้วยเช่น วัดการตัดต่อของสวิตซ์ หน้าสัมผัสต่าง ๆ ตลอดจนวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ว่า ดี , เสียได้ด้วย

             โครงสร้างของโอห์มมิเตอร์ประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 อย่างคือ ดาร์สันวาล์มิเตอร์ แบตเตอรี ( ถ่านไฟฉาย ) และตัวต้านทานปรับค่าได้ โดยนำอุปกรณ์ 3 ส่วนดังกล่าวมาต่อวงจรจะได้โอห์มมิเตอร์ขึ้นมา และปรับแต่งสเกลหน้าปัดให้บอกค่า โอห์ม โอห์มมิเตอร์แบ่งลักษณะการต่อวงจรออกเป็น 3 แบบ ด้วยกันคือ

1.โอห์มมิเตอร์ แบบอันดับ

2. โอห์มมิเตอร์แบบอนุกรม

            3. โอห์มมิเตอร์แบบปรับแบ่งแรงดัน

              โอห์มมิเตอร์แบบอันดับ   คือ  โอห์มมิเตอร์ที่มีตัวต้านทานไม่ทราบค่าที่ต้องการวัดต่อเป็นอันดับกับ

ขด ลวดเคลื่อนที่ของมิเตอร์ สภาวะ การ บ่ายเบน ของเข็มมิเตอร์จะขึ้นอยู่กับขนาดของความต้านทานที่ไม่ทราบค่า ถ้า ขนาดความต้านทานไม่ทราบค่าสูง จะจำกัดกระแสให้ผ่านขดลวดเคลื่อนที่น้อย ถ้าขนาดความต้านทานไม่ทรายค่าต่ำ จะจำกัดกระแสให้ผ่านขดลวดเคลื่อนที่มาก ผลดังกล่าวเข็มมิเตอร์จะชี้ค่าความต้านทานออกมา การเปลี่ยนสเกลหน้า ปัดของมิเตอร์ให้เป็นหน้าปัดของมิเตอร์ให้เป็นสเกลของโอห์มมิเตอร์ทำได้โดย ใช้ตัวต้านทานมีค่าความต้านทานต่างๆ แทนค่าลงในสมการ คำนวณค่าออกมาเป็นกระแสในค่าต่างๆ กำหนดค่าความต้านทานลง ตาม กระแสที่คำนวณได้ ก็จะได้สเกลของโอห์มมิเตอร์แบบอันดับตามที่ต้องการ

          โอห์มมิเตอร์แบบขนาน เป็นโอห์มมิเตอร์ที่วัดค่าความต้านทานค่าต่ำ ๆ ได้ดี จากผลของการต่อ ความ ต้านทานไม่ทราบ ค่าขนานกับมิเตอร์นั่นเอง ในทำนองเดียวกันการต่อตัวต้านทานทราบค่าต่ำๆ ขนานกับมิเตอร์ ก็สามารถนำ โอห์มมิเตอร์ไป วัดความต้านทานต่ำได้เช่นกัน และสามารถเปลี่ยนค่าความต้านทาน ของ มิเตอร์ ได้ ทำให้สามารถวัดค่าความต้านทานได้กว้าง เรียกโอห์มมิเตอร์แบบนี้ว่าโอห์มมิเตอร์แบบปรับแรงดัน โดยอาศัย ตัวต้านทานขนานค่าต่ำ ที่ต่อร่วมกับตัวต้านทานที่ต้องการวัดค่า ต่อร่วมเป็นวงจรแบ่งแรงดัน ผลการแบ่งแรงดัน จะทำให้มีแรงดันไฟตรงตกคร่อมขดลวดเคลื่อนที่ของมิเตอร์เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้มีกระแสไหลผ่าน ขดลวด เคลื่อนที่ เปลี่ยนไป เกิดการบ่ายเบนที่เปลี่ยนแปลง เมื่อทำการเปลี่ยนแปลงสเกลหน้าปัดให้เป็นสเกลโอห์มมิเตอร์ ก็สามารถอ่านค่าความต้านทานที่ทำการวัดได้               

          สเกลของโอห์มมิเตอร์แบบขนานจะตรงข้ามกับสเกลของโอห์มมิเตอร์แบบอันดับคือมี 0 โอห์ม อยู่ทางซ้ายมือ และมีอินฟีนิตี้โอห์มอยู่ทางขวามือ

          โอห์มมิเตอร์แบบปรับแบ่งแรงดัน ความจริงมีโครงสร้างมาจากโอห์มมิเตอร์แบบอันดับโดยทำการดัดแปลงสง่นประกอบ วงจรคือเพิ่มตัวต้านทานค่าต่ำขนานกับมิเตอร์ ดังนั้นสเกลของโอห์มมิเตอร์แบบนี้ จะมีสเกลเหมือนกับโอห์มมิเตอร์แบบอันดับ คือ 0 โอห์ม จะอยู่ทางขวามือ และ อินฟีนิตี้ จะอยู่ทางซ้ายมือ

          โอห์มมิเตอร์แบบหลายย่านวัด คือโอห์มมิเตอร์ที่วัดค่าความต้านทานได้กว้าง ตั้งแต่ค่าต่ำไปหาค่าสูง โดยอาศัยหลักการ ของโอห์มมิเตอรแบบปรับแรงดันย่านวัดถูกสร้างให้เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ 1 เท่า, 10 เท่า , 100 เท่า, 1,000 เท่า ฯลฯ ส่วน สำคัญของโอห์มมิเตอร์หลายย่านวัดคือ จะต้องใช้สเกลการวัดค่าเพียงสเกลเดียว การกำหนดค่าสเกลจะต้องมองที่ย่านกลางสเกลของโอห์มมิเตอร์ย่านต่ำสุด

เต้าตีเส้น

เต้า   ใช้ในการตีเส้นตรงในแนวนอนหรือแนวดิ่งใช้ในการเดินสายไฟฟ้า
 


 1.
รูปเต้า

 2.
รูปการใช้งานเต้า

เชือกตีแนว


ภาพประกอบบทควาเชือกตีแนว, ปักเต๊า (Chalk Reel)

เชือกตีแนว

เชือกตีแนว หรือ ปักเต๊า ใช้ตีแนวเส้นตรง รวมไปถึงแนวระดับได้ด้วย ใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องการแนวก่อนที่จะก่อกำแพงให้เป็นเส้นตรง แล้วจึงตีเส้นระดับเพื่อการวางท่อ ผนัง ประตู หน้าต่าง มุงกระเบื้อง การทำเคาน์เตอร์ ทำราง หรือการโรยกรวด เป็นต้น หรือจะใช้ตีเส้นบนทางเดินริมถนน ถ้าต้องการบันทึกความยาว ก็ให้ผูกปมไว้บนเส้นเชือก แต่ถ้าต้องการสร้างมุมฉาก ให้ใช้ทฤษฎีบทของพิทากอรัส และสร้างสามเหลี่ยมที่มีความยาวด้านเป็น 3-4-5 โดยใช้ปมที่ผูกบนเส้นเชือกร่วมกับท่อนไม้ เครื่องมือช่างชนิด นี้ มีลักษณะเป็นกล่องรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยอลูมิเนียมกลวงคล้ายกระป๋อง มีขนาดเทียบเท่าฝ่ามือ มีด้ามเล็กๆ สำหรับหมุนที่ปลายด้านหนึ่งซึ่งเป็นโลหะคล้ายตะขอ ปลายอีกด้านหนึ่งมีเชือกร้อยอยู่ โดยขดของเชือกจะซ่อนอยู่ในตัวกล่อง หลักการใช้งานของเครื่องมือช่างดัง กล่าว คือการหาตำแหน่งของปลายเส้นที่ต้องการตี แล้วเกี่ยวตะขอตรงตำแหน่งนั้น หรือใช้เหล็กตอกลงไป จึงเกี่ยวตะขอ ดึงเชือกที่ปลายของเส้นที่จะตีและคลายขดเชือกออก ดึงเชือกให้ตึงอีกครั้งด้วยมืออีกข้างหนึ่ง แล้วใช้นิ้วสองนิ้วเกี่ยวเส้นเชือกให้ลอยเหนือพื้น แล้วปล่อยให้เชือกดีดตัวลงไป จากนั้นปลดตะขอ แล้วจึงม้วนเชือกกลับ

เต้าตีเส้น สมัยก่อน
http://www.m-culture.in.th/media/big/144521

เต้าตีเส้น - การตีเส้นบนไม้ก่อนที่ช่างไม้จะทำการเลื่อยไม้เป็นส่งที่สำคัญ การตีเส้นบนไม้แผ่นยาว ๆ การใช้ไม้บรรทัดทำไม่ได้ช่างไม้ตีเส้นโดยนำเชือกมาชุบสีขึงเชือกให้ตึงจับ เส้นเชือกดีดลงไปบนพื้นไม้สีจะปรากฏอยู่บนไม้ที่จะเลื่อย - อุปกรณ์ที่ช่วยในการเก็บเชือก ย้อมสีเชือกคือ เต้าตีเส้นทำด้วยไม้ยาวประมาณ 7 นิ้ว กว้างประมาณ 3 นิ้ว สูงประมาณ 3 นิ้ว แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ช่องสำหรับม้วนเก็บเชือกและช่องบรรจุถ่านดำ มีรูสำหรับให้เชือกรอดจากด้านหน้าผ่านช่องถ่านและทะลุเข้าไปในช่องเก็บเชือก ช่องเก็บเชือกมีล้อกลม ๆ ติดอยู่สำหรับม้วนเชือกเข้าเก็บ - ก่อนใช้งานช่างไม้นำถ่านไม้สีดำตำจนละเอียดผสมน้ำเล็กน้อยอัดบรรจุลงในช่อง บรรจุถ่านดึงเชือกออกจากช่องเก็บเชือก เชือกผ่านช่องถ่านออกไปทางด้านหน้า ขึงเชือกให้ตึงในตำแหน่งที่ต้องการแล้วดีดเส้นเชือกสัมผัสกับแผ่นไม้ที่จะ เลื่อยสีดำของถ่านไม้ถูกดีดไปติดอยู่บนแผ่นกระดาน แหล่งอ้างอิงข้อมูล พิพิธภัณฑ์มีชีวิต ค่ายวิทยาศาสตร์พื้นบ้าน - จัดทำขึ้นเพื่องานด้านอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย โดย... พ.ต.อ.ไพฑูรย์ เพิ่มศิริวิศาล… หมู่ที่ 6 ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ. สมุทรสาคร

เครื่องมือวัดระยะ

เครื่องมือวัดระยะ   หมายถึง การใช้วัดความยาวขนาดต่างๆ ว่ามีระยะมากน้อยเท่าไร เช่น ตลับเมตร ทำด้วยโลหะ วัดความยาวได้ 2 ระบบ คือ ระบบนิ้วและระบบเซนติเมตร
 


 1.
รูปตลับเมตร

 2.
รูปการใช้ตลับเมตร
อุปกรณ์วัดระยะฯ

 
 

ล้อวัดระยะทาง ยี่ห้อ ROTO-SURE รุ่น Classique Professional
สามารถวัดระยะได้ถึง 10 กิโลเมตร
เส้นผ่าศูนย์กลางของวงล้อมีขนาด 300 มิลลิเมตร
ระบบแสดงระยะ สามารถเซ็ตศูนย์ได้ 2 ตำแหน่ง คือ
ที่ส่วนบนของด้ามจับ และที่มิเตอร์(ระบบแสดงระยะ)
อ่านค่าได้ละเอียด 10 ซม.
มีเข็มสำหรับชี้จุดเริ่มต้นการวัด
มีระบบเบรค ควบคุมที่มือจับ
มีขาตั้งยันพื้นที่ขณะหยุดนิ่ง
มีกระเป๋าสะพายสำหรับบรรจุเครื่องมือ


ล้อวัดระยะทาง ยี่ห้อ ROTO-SURE รุ่น 1000 Deluxe
สามารถวัดระยะได้ถึง 10 กิโลเมตร
เส้นผ่าศูนย์กลางของวงล้อมีขนาด 300 มิลลิเมตร
ระบบแสดงระยะ สามารถเซ็ตศูนย์ได้ 1 ตำแหน่ง คือ
ที่มิเตอร์(ระบบแสดงระยะ)
อ่านค่าได้ละเอียด 10 ซม.
มีเข็มสำหรับชี้จุดเริ่มต้นการวัด
มีระบบเบรค ควบคุมที่มือจับ
มีขาตั้งยันพื้นที่ขณะหยุดนิ่ง
มีกระเป๋าสะพายสำหรับบรรจุเครื่องมือ


 

ล้อวัดระยะทาง ยี่ห้อ ROTO-SURE รุ่น 500 Deluxe 

สามารถวัดระยะได้ถึง 10 กิโลเมตร
เส้นผ่าศูนย์กลางของวงล้อมีขนาด 160 มิลลิเมตร
ระบบแสดงระยะ สามารถเซ็ตศูนย์ได้ 1 ตำแหน่ง คือ
ที่มิเตอร์(ระบบแสดงระยะ)
อ่านค่าได้ละเอียด 10 ซม.
มีเข็มสำหรับชี้จุดเริ่มต้นการวัด
มีระบบเบรค ควบคุมที่มือจับ  
 


 
ล้อวัดระยะทาง ยี่ห้อ CST รุ่น CLL-100
สามารถวัดระยะได้ถึง 10 กิโลเมตร
เส้นผ่าศูนย์กลางของวงล้อมีขนาด 300 มิลลิเมตร
ระบบแสดงระยะ สามารถเซ็ตศูนย์ได้ 1 ตำแหน่ง คือ
ที่มิเตอร์(ระบบแสดงระยะ)
อ่านค่าได้ละเอียด 1 ซม.
มีเข็มสำหรับชี้จุดเริ่มต้นการวัด
มีระบบเบรค ควบคุมที่มือจับ
มีขาตั้งยันพื้นที่ขณะหยุดนิ่ง
มีกระเป๋าสะพายสำหรับบรรจุเครื่องมือ


ล้อวัดระยะทาง ยี่ห้อ CST รุ่น CLL-400
สามารถวัดระยะได้ถึง 10 กิโลเมตร
เส้นผ่าศูนย์กลางของวงล้อมีขนาด 200 มิลลิเมตร
ระบบแสดงระยะ สามารถเซ็ตศูนย์ได้ 1 ตำแหน่ง คือ
ที่มิเตอร์(ระบบแสดงระยะ)
อ่านค่าได้ละเอียด 10 ซม.
มีเข็มสำหรับชี้จุดเริ่มต้นการวัด
มีระบบเบรค ควบคุมที่มือจับ
มีขาตั้งยันพื้นที่ขณะหยุดนิ่ง
มีกระเป๋าสะพายสำหรับบรรจุเครื่องมือ
 



ล้อวัดระยะทาง ยี่ห้อ CST รุ่น CLL-200
 
สามารถวัดระยะได้ถึง 10 กิโลเมตร
เส้นผ่าศูนย์กลางของวงล้อมีขนาด 0.622 เมตร
ระบบแสดงระยะ สามารถเซ็ตศูนย์ได้ 1 ตำแหน่ง คือ
ที่มิเตอร์(ระบบแสดงระยะ)
อ่านค่าได้ละเอียด 10 ซม.
มีเข็มสำหรับชี้จุดเริ่มต้นการวัด 
มีกระเป๋าสะพายสำหรับบรรจุเครื่องมือ  


 ล้อวัดระยะทางแบบดิจิตอล  ยี่ห้อ WAHGH รุ่น Digi Wheel
สามารถวัดระยะได้ถึง 10 กิโลเมตร
วัดระยะทางได้ไม่น้อยกว่า 999,999.9 เมตร อ่านค่าได้ละเอียด 1 ซม.
สามารถคำนวณค่าพื้นที่,ปริมาตร,พื้นที่ที่ซับซ้อนได้
เก็บบันทึกค่าที่วัดได้ 9 หมวด แยกเป็นหมวดๆละ 5 ค่า คือ กว้าง ยาว สูง พื้นที่และปริมาตร
ปรับระดับความสูงของเครื่องมือให้เหมาะกับผู้ใช้งานได้
เส้นรอบวงของล้อไม่น้อยกว่า 1 เมตร
ใช้วัดได้ทั้งมาตราเมตริกและอังกฤษ
มีขาตั้งพับลงพื้นขณะหยุดนิ่ง
มีกระเป๋าสะพายสำหรับบรรจุเครื่องมือ
 

 
ล้อวัดระยะทางแบบดิจิตอล  ยี่ห้อ  Digiroller  รุ่น Plus lI
สามารถวัดระยะได้ถึง 10 กิโลเมตร
วัดระยะทางได้ไม่น้อยกว่า 999,999.9 เมตร อ่านค่าได้ละเอียด 1 ซม.
สามารถคำนวณค่าพื้นที่,ปริมาตร,พื้นที่ที่ซับซ้อนได้
เก็บบันทึกค่าที่วัดได้ 9 หมวด แยกเป็นหมวดๆละ 5 ค่า คือ กว้าง ยาว สูง พื้นที่และปริมาตร
ปรับระดับความสูงของเครื่องมือให้เหมาะกับผู้ใช้งานได้
เส้นรอบวงของล้อไม่น้อยกว่า 1 เมตร
ใช้วัดได้ทั้งมาตราเมตริกและอังกฤษ
มีขาตั้งพับลงพื้นขณะหยุดนิ่ง
มีกระเป๋าสะพายสำหรับบรรจุเครื่องมือ



เทปวัดระยะทางสแตนเลส กว้าง 13 มม.ความยาว 50 เมตร
ยี่ห้อ RICHTER ผลิตภัณฑ์ประเทศเยอรมัน
                    
เนื้อเทปเป็นสแตนเลสอย่างดี ปลอดสนิม
ปลายเทปมีวัสดุหุ้มลดแรงกด และป้องกันการหักงอของเนื้อเทป
ด้ามจับ มีปุ่มยางช่วยให้จับได้กระชับและกันการลื่นขณะใช้งาน
บรรจุในโครงโลหะ มีมือหมุนพร้อมจุดล็อคมือหมุน
 
 

 
เทปวัดระยะทางสแตนเลส กว้าง 13 มม.ความยาว 50 เมตร
ยี่ห้อ CST ผลิตภัณฑ์ประเทศจีน

เนื้อเทปเป็นสแตนเลสอย่างดี ปลอดสนิม
ปลายเทปมีวัสดุหุ้มลดแรงกด และป้องกันการหักงอของเนื้อเทป
ด้ามจับ มีปุ่มยางช่วยให้จับได้กระชับและกันการลื่นขณะใช้งาน
บรรจุในโครงโลหะ มีมือหมุนพร้อมจุดล็อคมือหมุน
 
    

เทปวัดระยะทางสแตนเลส กว้าง 13 มม.ความยาว100 เมตร
ยี่ห้อ CST ผลิตภัณฑ์ประเทศจีน

เนื้อเทปเป็นสแตนเลสอย่างดี ปลอดสนิม
ปลายเทปมีวัสดุหุ้มลดแรงกด และป้องกันการหักงอของเนื้อเทป
ด้ามจับ มีปุ่มยางช่วยให้จับได้กระชับและกันการลื่นขณะใช้งาน
บรรจุในโครงโลหะ มีมือหมุนพร้อมจุดล็อคมือหมุน
 
 



เทปเหล็กเคลือบไนล่อน กว้าง 13 มม.ยาว 50 เมตร
ยี่ห้อ RICHTER ผลิตภัณฑ์ประเทศเยอรมัน
    
เนื้อเทปเป็นเหล็กเคลือบไนล่อนอย่างดี ปลอดสนิม
ปลายเทปมีวัสดุหุ้มลดแรงกด และป้องกันการหักงอของเนื้อเทป
ด้ามจับ มีปุ่มยางช่วยให้จับได้กระชับและกันการลื่นขณะใช้งาน
บรรจุในโครงโลหะ มีมือหมุนพร้อมจุดล็อคมือหมุน



เทปวัดระยะทางเหล็ก กว้าง 6 มม.ความยาว 50 เมตร
ยี่ห้อ Lufkin/Peerless  ผลิตภัณฑ์ประเทศอเมริกา

เนื้อเทปเป็นเหล็ก Peerlessอย่างดี ปลอดสนิม
ปลายเทปมีวัสดุหุ้มลดแรงกด และป้องกันการหักงอของเนื้อเทป
ด้ามจับ มีปุ่มยางช่วยให้จับได้กระชับและกันการลื่นขณะใช้งาน
บรรจุในโครงโลหะ มีมือหมุนพร้อมจุดล็อคมือหมุน
 
 
 


เทป ไฟเบอร์ใยแก้ว ยาว 50 เมตร
ยี่ห้อ Stanley ผลิตภัณฑ์ประเทศอเมริกา
เนื้อเทปเป็นไฟเบอร์ใยแก้วอย่างดี เคลือบมันที่ผิว
สามารถคงสภาพได้ดี ไม่ยึดหรือเสียรูปง่าย
ด้ามจับ มีปุ่มยางช่วยให้จับได้กระชับและกันการลื่นขณะใช้งาน
บรรจุในโครงพลาสติก มีมือหมุนพร้อมจุดล็อคมือหมุน



เทป ไฟเบอร์ใยแก้ว ยาว 60 เมตร
ยี่ห้อ Stanley ผลิตภัณฑ์ประเทศอเมริกา
เนื้อเทปเป็นไฟเบอร์ใยแก้วอย่างดี เคลือบมันที่ผิว
สามารถคงสภาพได้ดี ไม่ยึดหรือเสียรูปง่าย
ด้ามจับ มีปุ่มยางช่วยให้จับได้กระชับและกันการลื่นขณะใช้งาน
บรรจุในโครงพลาสติก มีมือหมุนพร้อมจุดล็อคมือหมุน
 



 โซ่ลาน ยี่ห้อ Charterman
ผลิตภัณฑ์ประเทศEnglish
ทำโดยเหล็กกล้า รมยากันสนิม
ขนาดกว้างไม่ต่ำกว่า 1/8 นิ้ว ยาว 40 เมตร
แบ่งส่วน 100 ข้อ ๆ ละ 1 ซม. ด้วยหมุดทองเหลือง 1 ข้อ
ทุกๆ 5 ข้อเป็นทองเหลืองสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีวงกลมตรงกลาง
ทุกๆ 10 ข้อเป็นทองเหลืองสี่เหลี่ยมผีนผ้า มีตัวเลขกำกับ
มีมือจับชนิดหมุนรอบตัวติดอยู่ปลายโซ่ทั้งสองข้าง
 

สิ่ว

สิ่ว  เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานไม้ในการเซาะร่องต่างๆ  เพื่อให้สายไฟฟ้ารอดผ่านได
 


 1.
รูปสิ่ว

 2.
รูปการใช้สิ่ว

3. รูปแป้นไม้  

4.รูปสายไฟเข้าและออกทางเดียวกัน

5.รูปสายไฟเข้าและออกคนละทาง
 

1.   สิ่ว (Chisels) คือเครื่องมือในงาน ไม้ที่เป็นเหล็ก มีความคม จึงต้องระวังเป็นพิเศษ เมื่อไสไม้ได้ขนาดแล้ว งานที่จะทำต่อไปคือการประกอบไม้เข้าด้วยกันโดยการเจาะ สิ่วจึงเป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานเจาะมากที่สุด การแบ่งสิ่วตามลักษณะที่สร้างมาในท้องตลาด แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ


-         สิ่วที่โคนเรียวแหลมฝังเข้าไปในด้าม เรียกว่า Tang


-         สิ่วที่ด้ามฝังเข้าในโคนสิ่ว เป็นท่อเรียวกลวงข้างใน เรียกว่าSocket


แต่ถ้าแบ่งสิ่วตามชนิดและลักษณะของการใช้งาน สามารถแบ่งได้ดังนี้


ก.   สิ่วใบหนา (Firner chisel) สิ่วชนิดนี้จะมีใบที่หนาแข็งแรง ใช้งานได้ทั้งหนักและเบาขนาดความกว้างมีตั้งแต่ 1/8” –1” (ขนาดสิ่วเรียกตามความกว้าง)


ข.   สิ่วปากบาง (Paring chisel) สิ่วชนิดนี้ใบจะบางกว่าชนิดแรก โดยทั่วไปจะใช้สิ่วนี้เซาะไม้ด้วยมือ ไม่นิยมใช้ตอก ตอนริมของใบสิ่วจะเอียงลาดลงไปหาอีกด้านหนึ่ง เพื่อทำงานละเอียด มีขนาดตั้งแต่ 1/8” –2”


ค.   สิ่วเข้าโครง (Framing chisel) ตัวสิ่วจะหนักและแข็งแรงมาก ใช้ในงานหนัก ๆ เช่น การประกอบโครงเรือ สิ่วชนิดนี้จะมีวงแหวนเหล็กที่ด้ามเพื่อกันด้ามแตก


ง.   สิ่วเดือย (Mortisel chisel) ใช้สำหรับเจาะร่องรับเดือย ลักษณะพิเศษคือ ตัวสิ่วตั้งแต่ด้ามลงมาที่ตัวสิ่วจะหนา เพราะเวลาเจาะต้องใช้สิ่วงัดเพื่อให้ไม้หลุด ซึ่งใช้กำลังมากกว่าสิ่วธรรมดาที่กล่าวมาแล้ว


จ.   สิ่วทำบัวหรือสิ่วเซาะร่อง เป็นสิ่วที่ใช้ทำบัว เซาะร่อง เจาะรูกลม หรือแต่งไม้ส่วนที่เป็นโค้ง ใบสิ่วมีลักษณะรูปโค้งเว้า ขนาดใบกว้าง ¼” –2” มักเรียกสิ่วชนิดนี้ว่า สิ่วเล็บมือ

เลื่อยมือ

เลื่อยมือ   เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดวัสดุชนิดต่างๆ  หรือใช้ตัดชิ้นงาน มีด้วยกันดังนี้
                                 1. เลื่อยที่ใช้งานไม้  เช่น   เลื่อยรอปากไม้  เลื่อนลันดา

 1.
รูปเลื่อยรอปากไม้

 2.
รูปเลื่อยลันดา

 3.
รูปการตัดไม้
                             2. เลื่อยที่ใช้ในงานโลหะ เช่น เลื่อยตัดเหล็กชนิดด้ามปืน

 1.
รูปเลื่อยตัดโลหะ

 2.
การตัดโลหะ
เลื่อย เป็นเครื่องมือคมตัดแบบตัดถากชนิดหนึ่ง  บริเวณฟันหรือใบเลื่อยทำด้วยเหล็กสำหรับทำเครื่องมือหรือเหล็กสำหรับงานตัด ด้วยความเร็วสูง ซึ่งเป็นฟันเล็กๆเรียงกันอยู่เป็นแถวคล้ายคมของสกัด มีทั้งในงานไม้และงานโลหะ
             
         เพื่อตัดแบ่งชิ้นงาน ตัดเซาะ ตัดแยก และตัดบากให้ได้ขนาดอย่างหยาบๆ
           
                    1. โครงเลื่อย (FRAME)
                    2. ด้ามจับ  (HANDLE)
                    3. ใบเลื่อย (SAW BLADE)
           
                        ในขณะทำการเลื่อย ถ้าความหนาของฟันเลื่อยเท่ากับใบเลื่อย เมื่อเลื่อยลงไปในชิ้นงาน จะทำให้ใบเลื่อยติดแน่นกับร่องเลื่อยนั้น เพื่อแก้ปัญหานี้ ฟันของใบเลื่อยจะถูกออกแบบให้สามารถตัดกินชิ้นงานได้ร่องโตกว่าความหนาของใบ เลื่อย โดยวิธี บิดฟันเลื่อยไปทางซ้ายสลับกับทางขวา     ขณะทำการเลื่อย ร่องที่เกิดขึ้นจากการเลื่อยจะมีความกว้างเป็น 2 เท่าของใบเลื่อยทำให้ใบเลื่อยไม่ถูกหนีบหรือเสียดสีกับชิ้นงาน
           
                        ใบเลื่อยที่ใช้เลื่อยวัสดุแข็งและวัสดุอ่อน จะมีความห่างระหว่างฟันต่างกันซึ่งแบ่งออกเป็นฟันห่างฟันถี่ปานกลาง และฟันถี่มาก ค่าความถี่ ของฟันเลื่อยจะบอกได้โดยเทียบจำนวนฟันต่อความยาวของใบเลื่อย 1 นิ้วหรือ 25 มิลลิเมตร

ลักษณะการใช้งาน
จำนวนฟันต่อความยาวใบเลื่อย  1นิ้วหรือ25 มม.
ชนิดของฟันใบเลื่อย
สำหรับวัสดุอ่อน เช่นอะลูมิเนียม,ดีบุก,ทองแดงวัสดุสังเคราะห์ สำหรับใช้งานเลื่อยที่มีรอยเลื่อยลึกๆเช่น เหล็กสี่เหลี่ยม หรือกลมที่มีความหนามากกว่า40 มม.ขึ้นไป
16
หยาบ
สำหรับงานเลื่อย ทั่วไป ที่ใช้กับเหล็กและโลหะที่มีความแข็งปานกลางโดยเฉพาะ สำหรับท่อเหล็กรูปต่างๆ ตลอดจนแท่งเหล็กที่มีความหนาต่ำกว่า 20 มม.ลงมา
22
ปานกลาง
สำหรับวัสดุที่แข็ง เช่น เหล็กทำเครื่องมือ ตลอดจนสายเคเบิล,แผ่นโลหะ,ท่อที่มีผนังบางลวดและ
แผ่นโลหะขึ้นรูป
32
ละเอียด

 
            ความยาวใบเลื่อยมือส่วนมากจะยาวประมาณ 300 มิลลิเมตร โดยวัดจากรูเจาะด้านหนึ่งถึงรูเจาะอีกด้านหนึ่ง รายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับใบเลื่อยจะบอกไว้ที่ตัวใบเลื่อยนั้น เช่นจำนวนฟันต่อนิ้ว,ความยาว,ยี่ห้อ,ทิศทางที่เลื่อยตัดชิ้นงาน



ข้อบกพร่อง
สาเหตุ
1. ใบเลื่อยสึกไม่เท่ากัน
1. เมื่อเริ่มเลื่อยไม่ใช้ตะไบถูให้เป็นรอยเสียก่อน
2. ใช้ใบเลื่อยที่มีฟันห่างเกินไป
3. ชิ้นงานที่เลื่อยบางเกินไป ทำให้กระแทกฟันเลื่อย และเสียดสีกับฟันเลื่อย
2. ฟันเลื่อยหัก หรือสึกเร็ว
1. เลื่อยวัสดุแข็งเกินไป
2. จังหวะการเลื่อยเร็วเกินไป
3. ฟันถี่เกินไป เมื่อใช้เลื่อยชิ้นงาน ซึ่งมี
หน้าตัดยาวเศษโลหะที่เกิดจากการเลื่อย
จะเข้าไปอุดตันอยู่เต็มช่องฟันเลื่อย
3.เลื่อยติดแน่นขณะเริ่มเลื่อย
1.เมื่อเริ่มเลื่อยในจังหวะชักกลับถ้าดึงเลื่อยระยะสั้นๆฟันเลื่อยก็จะสึกเฉพาะส่วน
กลางใบเลื่อย ส่วนปลายทั้งสองข้างไม่ค่อยสึกเมื่อเลื่อยในจัง
หวะดันไปข้างหน้าหรือถอยหลัง ใบเลื่อยจะติดเพราะส่วนที่ไม่สึกก็จะเข้ามาอัดในร่อง

 
            1. การเลื่อย ถ้าเป็นเลื่อยมือ ต้องออกแรงตัดให้สม่ำเสมอ
            2. ต้องเลือกระยะฟันของใบเลื่อย ให้เหมาะสมกับชนิด,ขนาด และวัสดุงาน
            3. ใส่ใบเลื่อยให้ฟันชี้ไปทางจังหวะตัดเนื้องาน
            4. การจับชิ้นงาน ให้รอยตัดอยู่ใกล้ที่จับยึดมากที่สุด เพื่อป้องกันการสั่นขอชิ้นงานขณะทำการ
เลื่อย
            5. การจับยึดชิ้นงานต้องมีเทคนิคที่เหมาะสมในงานบางลักษณะ
            6. ใช้ใบเลื่อยให้เต็มตลอดใบหรือให้ใช้จำนวนฟันให้มากที่สุด


สว่าน

สว่าน   ป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานเจาะรูขนาดต่าง ๆ ตามต้องการ ซึ่งจะต้องประกอบด้วยดอกสว่าน
                           1. สว่านมือ เช่น  สว่านเฟือง หรือ สว่านจาน พวกนี้ใช้ในการเจาะติดแป้นสวิตช์ไฟฟ้าหรืองานยึดสกรู 


1.
รูปสว่านเฟือง

2.
รูปดอกสว่าน

                            
 2. สว่านไฟฟ้า
เป็นสว่านที่กำลังนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งต้องอาศัยไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบ  ในการใส่
  ดอกสว่านนั้นจะต้องอาศัยดอกจำปาในการเปลี่ยนดอกสว่าน

 


1.
รูปสว่านไฟฟ้า

2.
รูปการใส่ดอกสว่าน
สมัย20ปีก่อนอยากได้สว่านมือหนึ่งขนาดเล็กๆดีๆสักอันคงต้องมีเงินเกือบครึ่งหมื่น
เดี๋ยวนี้มีของดีราคาไม่แรงให้เลือกหลายยี่ห้อ อีกทั้งค่าแรงจ้างช่างมาทำโน่นนี่ในบ้านเล็กๆน้อยๆก็มักเจอ2ปัญหาคือช่างไม่ค่อยอยากมาหรือมาก็คิดแพง จึงทำให้หลายๆคนหันมาสนใจงานDIYกันมากขึ้น เพราะการลงทุนค่าเครื่องมือดูจะคุ้มค่าและเจ็บปวดใจน้อยกว่าจ้างช่าง

การแบ่งประเภทชนิดสว่านไฟฟ้า มีหลายแบบ    แต่ถ้าแบ่งชนิดแบบง่ายๆที่ใช้งานDIYก็มีสามแบบหลักที่นิยมคือ
1.สว่านไฟฟ้่ขนาดเล็ก2ระบบ  หมายถึงเลือกการใช้งานได้ทั้งระบบเจาะ หรือเจาะ+กระแทก(สำหรับงานเจาะปูนหรือคอนกรีต)
2.สว่านโรตารี่  ปัจจุบันส่วนใหญ่จะทำมาแบบ3ระบบ  คือ  เจาะ     เจาะ+กระแทก     สกัด
3.สว่านไฟฟ้าไร้สาย  สำหรับงานเจาะเบาๆและใช้เป็นไขควงไฟฟ้า

การเลือกซื้อ   คงต้องแล้วแต่งบประมาณและวัตถุประสงค์การใช้

แต่มีสองสามอย่างที่น่าสนใจในการเลือก คือ
-ความเร็วรอบต่อนาที  การใช้งานแบบhome made/DIY ทั่วไปอยู่ในช่วง2-3พันรอบต่อนาทีก็พอแล้ว
-แรงบิด   การเจาะทั่วไปแรงบิดอาจไม่ต้องสูงมาก  แต่ถ้างานหนักแรงบิดสูงจะเบาแรงกว่า  ในทางฟิสิกส์แรงบิด=แรงxระยะทางในแนวตั้งฉากกับศูนย์กลางที่เจาะหรือหมุน    มีหน่วยเป็น  นิวตันเมตร
ถ้าพูดง่ายๆก็คือแรงที่ใช้ในการบิดหรือหมุนสกรูว์  หรือแรงที่ใช้ในการบิดเจาะผ่านสิ่งต่างๆ
เช่นถ้าใช้ประแจยาว10ซม.ต้องออกแรงบิดหมุนสกรูว์10นิวตัน    แต่ถ้าเพิ่มความยาวประแจเป็น20ซม.ก็จะออกแรงบิดหมุนสกรูว์เหลือแค่5นิวตัน

งานเจาะทั่วไปไม่ต้องการแรงบิดสูง      งานหมุนสกรูว์เบาๆใช้แค่7-10นิวตัน    งานหมุนสกรูว์ปานกลางถึงหนักใช้ประมาณ20-30นิวตัน   งานหมุนสกรูว์ที่หนักหรือแน่นอาจต้องใช้แรงบิดสูงกว่านี้
-สว่านที่จะซื้อ  ถ้าเป็นรุ่นที่ดี  อาจไม่จำเป็นต้องแพง  แต่ก็มีอะไหล่และราคาแสดงให้เห็นก่อนตัดสินใจด้วยซ้ำ

     ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 2

อย่างตัวแรก  เป็นสว่านสองระบบขนาดเล็ก เป็นของมือสองที่ผมซื้อเมื่อประมาณยี่สิบปีก่อนราคาราว1พันจากคลองถม   ปัจจุบันก็ยังใช้งานได้ดีมาตลอด และ ไม่เคยต้องซ่อม

ราคาและยี่ห้อ  อาจไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับผู้ที่ต้องการเลือกความคุ้มค่า
แต่ถ้างบมากพอเลือกยี่ห้อดีๆ  ก็ไม่มีผิดหวังเช่นกัน

อย่างที่สอง
เป็นสว่านโรคารี่สามระบบ ขนาดเล็ก ใช้
-เจาะ
-เจาะ+กระแทก   งานนี้จะเบาแรงกว่าแบบสว่านไฟฟ้าสองระบบธรรมดามาก
-สกัด  แม้ทำได้แต่ไม่ควรใช้งานหนักเพราะมันคือสว่านไม่ใช่เครื่องสกัด

ในปัจจุบัน  สว่านโรตารี่ขนาดเล็กเป็นสว่านไฟฟ้าสารพัดประโยชน์สำหรับงานในบ้านที่น่าลงทุนที่สุดเพราะราคาแพงกว่าสว่านไฟฟ้าสองระบบไม่มาก   ถ้ารู้จักเลือก งบแค่+/-2พันบาทก็ได้ของดีคุ้มค่าแล้วครับ

อย่างที่สาม เป็นสว่านไฟฟ้าไร้สาย

ใช้งานสะดวก คล่องตัว สำหรับเจาะวัตถุที่ไม่แข็งหรือแน่นมาก เช่น ไม้ พลาสติก เหล็กบาง หรือใช้เป็นไขควงไฟฟ้า
(รุ่นที่ใช้งานเจาะกะแทกหรือเจาะงานหนักค่าตัวจะสูงมาก )
แต่มีข้อควรพิจารณาหลายอย่างก่อนตัดสินใจ
1.ความเร็วรอบ  ไม่ควรน้อยกว่า5-7ร้อยรอบ/นาที   เพราะถ้าน้อยไปงานเจาะจะกลายเป็นเรื่องยาก
2.ค่าแรงบิดหรือทอร์ค  ไม่ควรน้อยกว่า5-10นิวตัน  น้อยกว่านี้งานหมุนสกรูว์อาจจะไปไม่มิด
ถ้าใช้งานหมุนบิดปานกลางถึงสูงควรมีค่าทอร์กไม่น้อยกว่า+/-20นิวตัน  ถ้ายิ่งมากก็ยิ่งดีและยิ่งแพง
3.ชนิดของแบต  ถ้างบเยอะ เลือกแบบลิเธียมฯดีกว่านิแคด เพราะอายุใช้งานทนกว่า
4. ขนาดของแบต  สำหรับรุ่นประหยัดแบบแบตฯนิแคด ผมแนะนำเลือกขนาด9.6หรือ12V (แบตฯนิแคด จะเป็นเซลขนาด1.2V  ค่าแรงดันจึงเป็นทวีคูณของ1.2    ส่วนแบตฯลิเธียมทั่วไปที่ไม่ใช่รุ่นพิเศษจะเซลละ3.6Vค่าแรงดันก็จะเป็นทวีคูณของ3.6)     ที่แนะนำ9.6หรือ12V เพราะเวลาแบตเสื่อมสามารถประยุกต์ไปใช้แบตฯแห้งแทนได้ ราคาไม่น่าปวดใจเท่ากับซื้อแบตฯแท้หรือแม้แต่เอาไปเปลี่ยนเซลในแบตฯตามร้านอมร